วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว









ชื่อ นาย ธวัชชัย พันธ์เสถียร

เกิด 26/05/2513

อาชีพ ลูกจ้างประจำ

สถานะภาพ โสด

ที่อยู่ 44 หมู่ 3 ต.นาจารย์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000


Tel. 0862253070

เรื่องของ ****







การอนุรักษ์กระบือไทย

การทำนาในอดีตใช้กระบือหรือควาย เพื่อไถนาเป็นหลัก ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของไทยตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย กระบือหรือควายจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการทำนา

ปัจจุบันการทำนาพัฒนาไปมาก ด้วยการนำเอาเครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรง ไม่ว่าจะเป็นการไถนา เกี่ยวข้าว นวดข้าว มาช่วยในการทำนาแทนควาย เรียกกันว่า "ควายเหล็ก" แต่เป็นการเพิ่มรายจ่ายให้แก่เกษตรกรมากขึ้นเดิมการเอาควายมาทำนานั้นค่าใช้จ่ายน้อยมาก ค่าน้ำมันค่าสึกหรอไม่มี แถมยังได้ประโยชน์จากมูลควายเป็นปุ๋ยทำให้ข้าวงอกงามดี แต่เมื่อควายเหล็กมาทำนา ไหนจะเรื่องของเครื่องยนต์ ค่าน้ำมันที่สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา นับเป็นการเพิ่มรายจ่ายในการทำนาทุกวันนี้

ที่สำคัญจากที่เอาเครื่องจักรมาทำนาแทนควายแล้ว ควายก็นับวันที่จะหดหายไป และถ้าไม่มีการอนุรักษ์ควายเอาไว้ ต่อไปในอนาคตลูกหลานที่เกิดมาก็จะเห็นแต่ควายในรูปภาพและก็ไม่รู้ว่าควายนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร แม้ทางราชการจะเริ่มตื่นตัวในการอนุรักษ์พันธุ์ควายขึ้นมา แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก

สำหรับ อ.ท่าลี่ จ.เลย อำเภอชายแดนติดกับประเทศลาว และที่ ต.ท่าลี่ ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งที่ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยงกระบืออยู่มาก โดยเฉพาะที่บ้านยาง หมู่ 5 ต.ท่าลี่ อ.ท่าลี่ จ.เลย มีการตั้งชมรมคนเลี้ยงควายบ้านยางขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากปศุสัตว์จังหวัดและนายอำเภอท่าลี่คนปัจจุบัน
นายมนัสวรรธ บุญสมวัฒนวงษ์ นอภ.ท่าลี่ กล่าวว่า หมู่บ้านยางและหมู่บ้านกกก้านเหลือง อ.ท่าลี่ ประชาชนทั้งสองหมู่บ้านจะมีการเลี้ยงกระบือกันมาก ปัจจุบันมีกระบืออยู่ทั้งสองหมู่บ้านประมาณ 1,200 ตัว การเลี้ยงกระบือ 2 หมู่บ้านนี้ จะแตกต่างจากการเลี้ยงกระบือโดยทั่วไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มมีน้อย และเป็นภูเขาสูง ที่ลุ่มก็จะเป็นที่ทำนา ที่เนินส่วนหนึ่งก็จะเป็นสวนไม้ผล

ดังนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงกระบืออย่างน้อยก็คนละร่วม 20 ตัว ก็ตั้งฟาร์มของตนเอง มีการปลูกหญ้าให้ควายกิน แต่ก็ไม่เพียงพอ จึงต้องปล่อยลงมาหากินหญ้าในทุ่งนา เมื่อถึงฤดูฝนหน้าทำนาเขาก็จะปล่อยให้กระบือที่เลี้ยงไปหากินบนภูเขา

ตั้งแต่ปี 2542 หมู่บ้านยาง บ้านกกก้านเหลือง อ.ท่าลี่ มีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยขึ้น เพราะมองเห็นประโยชน์ของการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ ด้วยการสนับสนุนของทาง อ.ท่าลี่ และปศุ สัตว์ อ.ท่าลี่ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกและเกษตรกรรายอื่นๆ หันมาเลี้ยงกระบือกันมากขึ้นและยังเป็นการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรที่เลี้ยงกระบือให้เป็นอาชีพที่มั่นคง ลดการใช้เครื่องจักรกลในการทำนาด้วยการหันมาใช้กระบือแทนเหมือนในอดีต นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งธนาคารโค-กระบือตามพระราชดำริขึ้น ปัจจุบันมีโคกระบือกว่า 100 ตัว

นายมนัสวรรธ กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการเลี้ยงกระบือและการอนุรักษ์กระบือไทย อ.ท่าลี่ ร่วมกับ อบต.ท่าลี่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือหมู่บ้านยาง หมู่บ้านกกก้านเหลือง จัดงานวันรวมพลคนรักควาย ปันน้ำใจสู่ควายไทยท่าลี่ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริเวณทุ่งนาหมู่บ้านยาง โดยมีกระบือที่ลงมาจากเขาหลายร้อยตัวมาร่วมงาน โดยมีกิจกรรมด้วยการให้ความรู้ในโรคต่างๆ ของกระบือ การรักษากระบือที่เจ็บป่วย การกำจัดพยาธิภายนอกและภายในของกระบือ การตรวจท้องกระบือแม่พันธุ์

***ที่สำคัญคือร่วมกันอนุรักษ์ให้ทุกคนแลเห็นความสำคัญของกระบือไทย***